วันศุกร์ที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

คุณธรรมจริยธรรมความเป็นครู


เนื่องจากสภาพสังคมเปลี่ยนแปลงไปจนเกิดผลกระทบต่อการประพฤติปฏิบัติของครู  ทำให้คุณธรรมของครูตกต่ำ  จนเกิดวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับวิชาชีพครูในขณะนี้  อย่างไรก็ตามครูมีความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศมากที่สุดวิชาชีพหนึ่ง  ดังนั้นจึงมีการพัฒนาคุณธรรมของครู  เพราะคุณธรรมกับครูเป็นสิ่งที่แยกจากกันไม่ได้  หากครูขาดคุณธรรมความเป็นปูชนียบุคคลของครูก็จะหมดไป
ความหมายของคุณธรรม
พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน  พุทธศักราช  2525  ให้ความหมายของคุณธรรมไว้ว่า  เป็นสภาพคุณงามความดี  (ราชบัณฑิตยสถาน.  2525 : 187)
คาร์เตอร์ วี. กู๊ด  (Carter V. Good.  1973 : 641)  ให้ความหมายคุณธรรม  ไว้ว่า  คุณธรรมคือ  คุณลักษณะที่ดีงาม หรือพฤติกรรมที่ปฏิบัติจนเป็นนิสัย  และการที่บุคคลได้กระทำตามความคิดและมาตรฐานของสังคมในทางความประพฤติและจริยธรรม
ความสำคัญของคุณธรรม
คุณธรรมเป็นเสมือนหลักการสำคัญที่ให้ไว้สำหรับบุคคลหรือสังคมได้นำไปประยุกต์ใช้ในการดำรงชีวิต  จะช่วยให้บุคคลปฏิบัติงานได้อย่างราบรื่น  มีความสำเร็จในงานที่ทำ  เป็นคนดีของครอบครัว  สังคม และประเทศชาติ  สำหรับครูกับคุณธรรมนั้นจะต้องเป็นของคู่กัน  หากครูขาดคุณธรรมเมื่อใดก็เหมือนกับนักบวชที่ไร้ศีล
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระราชทานหลักคุณธรรมสำหรับคนไทยในพระราชพิธีบวงสรวงสมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราชเจ้า  ณ  ท้องสนามหลวง  วันจันทร์ที่  5  เมษายน  พ.ศ. 2525  ทั้งนี้เพื่อยึดถือปฏิบัติมีอยู่  4  ประการ  คือ
ประการแรก      คือ     การรักษาความสัจ  ความจริงใจต่อตัวเอง ที่จะประพฤติปฏิบัต       แต่สิ่งที่เป็นประโยชน์และเป็นธรรม
ประการที่สอง    คือ     การรู้จักข่มใจตนเอง  ฝึกใจตนเอง  ให้ประพฤติปฏิบัติอยู่ในความสัจ  ความดีนั้น
ประการที่สาม    คือ     การอดทน  อดกลั้น  และอดออม  ที่จะไม่ประพฤติล่วงความสัจ  สุจริต  ไม่ว่าจะด้วยเหตุประการใด
ประการที่สี่       คือ     การรู้จักละวางความชั่ว  ความสุจริต  และรู้จักสละประโยชน์ส่วนน้อยของตนเพื่อประโยชน์ส่วนใหญ่ของบ้านเมือง
คุณธรรมทั้ง  4  ประการนี้จะช่วยให้ประเทศชาติบังเกิดความสุข  ร่มเย็น  โดยเฉพาะผู้ที่เป็นครู  จำเป็นต้องยึดถือปฏิบัติเพื่อประโยชน์ของตนเองและผู้อื่น
ตามเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพครูของคุรุสภา  ซึ่งได้จากการประชุมสัมมนาวิชาชีพครูครั้งที่  6  ระหว่างวันที่  27 – 28  เมษายน  พ.ศ. 2532  ได้สรุปว่า  บุคคลที่ประกอบวิชาชีพครูมีลักษณะพื้นฐาน  4  ประการ  คือ  รอบรู้  สอนดี  มีคุณธรรมตามจรรยาบรรณและมุ่งมั่นพัฒนาตนเอง  (สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา.  2532 : 6 – 9)ในที่นี้จะนำมากล่าวเฉพาะในส่วนที่เป็นข้อคุณธรรมตามจรรยาบรรณ  ซึ่งมีคุรุสภากำหนดไว้  9  ข้อ  ดังต่อไปนี้
1.  มีเมตตากรุณา  พฤติกรรมหลัก  คือ  มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่  ช่วยเหลือเพื่อนร่วมงานและสังคม  มีความสนใจและห่วงใยในการเรียนและความประพฤติของนักเรียน  ส่วนพฤติกรรมบ่งชี้  คือ  ไม่นิ่งดูดายและเต็มใจช่วยเหลือผู้อื่นตามกำลังความสามารถ  ให้ความรักความเอาใจใส่ช่วยเหลือดูแลเด็กให้ได้รับความสุขและพ้นทุกข์  เป็นกันเองกับนักเรียน  เพื่อให้นักเรียนมีความรู้สึกเปิดเผยไว้วางใจ  และเป็นที่พึ่งของนักเรียน
2.  มีความยุติธรรม  พฤติกรรมหลัก  คือ  มีความเป็นธรรมต่อนักเรียนและมีความเป็นกลาง  ส่วนพฤติกรรมบ่งชี้  คือ  เอาใจใส่และปฏิบัติต่อนักเรียนทุกคนอย่างเสมอภาคและไม่ลำเอียง  ตัดสินปัญหาของนักเรียนด้วยความเป็นกลาง  ยินดีช่วยเหลือนักเรียน  ผู้ร่วมงานและผู้บริหารโดยไม่เลือกที่รักมักที่ชัง
3.  มีความรับผิดชอบ  พฤติกรรมหลัก  คือ  มุ่งมั่นในผลงาน  ใช้เวลาอย่างคุ้มค่าและปฏิบัติหน้าที่ครบถ้วน  ส่วนพฤติกรรมบ่งชี้  คือ  มีวิธีการที่จะปฏิบัติงานให้บรรลุวัตถุประสงค์  วางแผนการใช้เวลาอย่างเหมาะสม  และปฏิบัติงานให้ทันเวลา  ใช้เวลาคุ้มค่าและมีประสิทธิภาพ  วางแผนการปฏิบัติงานอย่างมีระบบ  ปฏิบัติงานตามแผนได้เสร็จและมีประสิทธิภาพ  มีความรอบคอบ  ระมัดระวังในการปฏิบัติหน้าที่ทุกด้าน  ปฏิบัติภารกิจทุกด้านได้ครบตามความสามารถและประเมินผลการปฏิบัติงานได้อย่างเหมาะสม
4.  มีวินัย  พฤติกรรมหลัก  คือ  มีวินัยในตนเอง และปฏิบัติตามกฎและระเบียบ  ส่วนพฤติกรรมบ่งชี้  คือ  ควบคุมตนเองให้ปฏิบัติตนอย่างถูกต้องตามทำนองคลองธรรม  มีวิธีทำงานที่เป็นแบบอย่างที่ดีแก่ผู้อื่นได้  ปฏิบัติตามกฎและระเบียบของหน่วยงานและสถานศึกษาปฏิบัติหน้าที่การงานเป็นไปตามขั้นตอน
5.  มีความขยัน  พฤติกรรมหลัก คือ  มีความตั้งใจและมีความพยายาม  ส่วนพฤติกรรมบ่งชี้  คือ  กระตือรือร้นและปฏิบัติงานเต็มความสามารถอย่างสม่ำเสมอ  ไม่ท้อถอยต่ออุปสรรคในการทำงาน  และมีความพยายามที่จะสอนเด็กให้บรรลุจุดหมาย

6.  มีความอดทน  พฤติกรรมหลัก  คือ  อดทนเมื่อเกิดอุปสรรค และมีความสามารถในการควบคุมอารมณ์  ส่วนพฤติกรรมบ่งชี้  คือ  ปฏิบัติงานเต็มไม่ทิ้งขว้างกลางคัน  ไม่โกรธง่าย และสามารถควบคุมอารมณ์ได้อย่างเหมาะสม และอดทนอดกลั้นคำวิพากษ์วิจารณ์
7.  มีความประหยัด  พฤติกรรมหลัก  คือ  รู้จักประหยัดและออม  และใช้ของให้คุ้มค่าส่วนพฤติกรรมบ่งชี้  คือ  ช่วยรักษาและใช้ของส่วนรวมอย่างประหยัด  ไม่ใช้จ่ายฟุ่มเฟือยเกินฐานะของตน  รู้จักเก็บออมทรัพย์  เพื่อความมั่นคงของฐานะ  และรู้จักใช้และเก็บรักษาของอย่างถูกวิธี
8.  มีความรักและศรัทธาในอาชีพครู  พฤติกรรมหลัก  คือ  เห็นความสำคัญของอาชีพครูและรักษาชื่อเสียงวิชาชีพครู  ส่วนพฤติกรรมบ่งชี้  คือ  สนับสนุนการดำเนินงานขององค์กรวิชาชีพครู  เข้าร่วมกิจกรรมวิชาชีพครู  ร่วมมือและส่งเสริมให้มีการพัฒนามาตรฐานวิชาชีพครู  ตั้งใจปฏิบัติหน้าที่ให้เกิดผลดีและเกิดประโยชน์ต่อส่วนรวมเป็นสำคัญ  รักษาความสามัคคีและช่วยเหลือซึ่งกันและกันในหน้าที่การงาน  ปกป้องและสร้างความเข้าใจอันดีต่อสังคมเกี่ยวกับวิชาชีพครู
9.  มีความเป็นประชาธิปไตยในการปฏิบัติงานและการดำรงชีวิต  พฤติกรรมหลัก  คือ  รังฟังความคิดเห็นของผู้อื่น  และมีเหตุผล  ส่วนพฤติกรรมบ่งชี้  คือ  เปิดโอกาสให้ผู้อื่นแสดงความคิดเห็น  รับฟังความคิดเห็นและข้อโต้แย้งของผู้อื่น  ยอมรับและปฏิบัติตามความคิดที่มีเหตุผล  โดยคิดถึงประโยชน์ส่วนรวมเป็นหลัก  และใช้หลักการและเหตุผลในการตัดสินใจและแก้ปัญหา

แหล่งที่มา/อ่านข้อมูลเพิ่มเติม

วันพฤหัสบดีที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2557

ประเพณีไทย

ประเพณีลอยกระทง
     วันลอยกระทง เป็นวันสำคัญวันหนึ่งของชาวไทย ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ตามปฏิทินจันทรคติไทย ตามปฏิทินจันทรคติล้านนา มักจะตกอยู่ในราวเดือนพฤศจิกายน ตามปฏิทินสุริยคติ ประเพณีนี้กำหนดขึ้นเพื่อเป็นการสะเดาะเคราะห์และขอขมาต่อพระแม่คงคา บางหลักฐานเชื่อว่าเป็นการบูชารอยพระพุทธบาทที่ริมฝั่งแม่น้ำนัมทามหานที และบางหลักฐานก็ว่าเป็นการบูชาพระอุปคุตอรหันต์หรือพระมหาสาวก สำหรับประเทศไทยประเพณีลอยกระทงได้กำหนดจัดในทุกพื้นที่ทั่วประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณที่ติดกับแม่น้ำ ลำคลอง หรือ แหล่งน้ำต่าง ๆ ซึ่งแต่ละพื้นที่ก็จะมีเอกลักษณ์ที่น่าสนใจ
แตกต่างกันไป


ในวันลอยกระทง ผู้คนจะพากันทำ "กระทง" จากวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ ตกแต่งเป็นรูปคล้ายดอกบัวบาน ปักธูปเทียน และนิยมตัดเล็บ เส้นผม หรือใส่เหรียญกษาปณ์ลงไปในกระทง แล้วนำไปลอยในสายน้ำ (ในพื้นที่ติดทะเล ก็นิยมลอยกระทงริมฝั่งทะเล) เชื่อว่าเป็นการลอยเคราะห์ไป นอกจากนี้ยังเชื่อว่าการลอยกระทง เป็นการบูชาและขอขมาพระแม่คงคาด้วย



ประเพณีสงกรานต์
    สงกรานต์สืบทอดมาแต่โบราณคู่มากับประเพณีตรุษ จึงมีการเรียกรวมกันว่า ประเพณีตรุษสงกรานต์ หมายถึงประเพณีส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่ คำว่าตรุษเป็น ภาษาทมิฬ แปลว่าการสิ้นปี แต่ในปัจจุบันการเฉลิมฉลองในประเพณีสงกรานต์นั้นได้ละทิ้งความงดงามของประเพณีในสมัยโบราณไปเกือบหมดสิ้น คงไว้เพียงแต่ภาพลักษณ์แห่งความสนุกสนาน

การละเล่นของไทย

กงจักร


จำนวนผู้เล่น : ไม่จำกัดจำนวน

วิธีเล่น : ผู้เล่นนำฝาเบียร์มาทับให้แบน เจาะรูตรงกลาง นำเชือกร้อยเข้าไปในรูตรงกลางถือเชือกไว้ด้วยมือทั้งสองข้าง แกร่งเชือกให้เป็นเกลียวมากที่สุดเท่าที่จะมากได้ แล้วดึงให้ฝาเบียร์จะหมุนอย่างรวดเร็ว

อุปกรณ์ : ฝาเบียร์, ตะปู, ค้อน, เชือก
กระโดดกบ
จำนวนผู้เล่น : ไม่เกิน 10 คน

วิธีเล่น : เอาผ้าผูกขา 2 ข้างของผู้เล่นติดกัน เมื่อกรรมการให้สัญญาณ ผู้เล่นทุกคนจะกระโดดออกจากเส้นเริ่มต้นไปจนถึงเส้นชัย ใครไปถึงก่อนเป็นผู้ชนะ

อุปกรณ์ : ผ้าสำหรับใช้ผูกขาเท่าจำนวนผู้เล่น

รีรีข้าวสาร

จำนวนผู้เล่น : ผู้เล่นมีจำนวน 6 คนขึ้นไป

วิธีเล่น : ให้ผู้เล่น 2 คน ยืนหันหน้าเข้าหากันแล้วเอามือประสานกันไว้เหนือศีรษะเป็นซุ้มประตู ส่วนผู้เล่นคนอื่นๆ เกาะไหล่กันเดินลอดซุ้มประตูพร้อมกับร้องเพลงประกอบไปด้วย พอเพลงจบคนที่เป็นซุ้มประตูก็จะลดแขนลงคร่อมตัวคนข้างหลังไว้ให้ได้ ดังนั้นคนที่อยู่หลังสุดก็จะต้องพยายามวิ่งลอดซุ้มประตูไปให้พ้น ถ้าถูกจับตัวได้ก็จะถูกคัดออกแล้วเล่นต่อไป

อุปกรณ์ : ไม่มี

เพลงประกอบ :

รี รี ข้าวสาร
เลือกท้องใบลาน
เก็บเบี้ยใต้ถุนร้าน

สองทะนานข้าวเปลือก
คดข้าวใส่จาน
พานเอาคนข้างหลังไว้

วันพุธที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2557

วันสำคัญทางศาสนา

วันมาฆบูชา
     ต ร ง กั บ วั น ขึ้ น ๑ ๕ ค่ำ เ ดื อ น ๓



         "มาฆะ" เป็นชื่อของเดือน ๓ มาฆบูชานั้น ย่อมาจากคำว่า"มาฆบุรณมี" แปลว่าการบูชาพระใน

วันเพ็ญเดือน ๓  
วันมาฆบูชาจึงตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓ แต่ถ้าปีใดมีเดือน อธิกมาส คือมีเดือน ๘

สองครั้ง  
วันมาฆบูชาก็จะเลื่อนไปเป็นวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๔ เป็นวันสำคัญวันหนึ่ง ในวันพุทธศาสนา

คือวันที่มี
การประชุมสังฆสันนิบาตครั้งใหญ่ในพุทธศาสนา ที่เรียกว่า "จาตุรงคสันนิบาต" และเป็นวันที่

พระสัมมา
สัมพุทธเจ้าได้ทรงแสดงโอวาทปฎิโมกข์แก่พระสงฆ์สาวกเป็นครั้งแรก ณ เวฬุวันวิหาร

 กรุงราชคฤห์ 
 เพื่อให้พระสงฆ์นำไปประพฤติปฏิบัติ เพื่อจะยังพระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองต่อไป


         คำว่า "จาตุรงคสันนิบาต" แยกศัพท์ได้ดังนี้ คือ "จาตุร" แปลว่า ๔ "องค์" แปลว่า ส่วน "สันนิบาต"

แปลว่า
ประชุม ฉะนั้นจาตุรงคสันนิบาตจึงหมายความว่า "การประชุมด้วยองค์ ๔" กล่าวคือมีเหตุการณ์

พิเศษที่เกิดขึ้น
พร้อมกันในวันนี้ คือ
๑. เป็นวันที่ พระสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้า จำนวน ๑,๒๕๐ รูป มาประชุมพร้อมกันที่ 
เวฬุวันวิหาร ในกรุงราชคฤห์ โดยมิได้นัดหมาย 
๒. พระภิกษุสงฆ์เหล่านี้ล้วนเป็น "เอหิภิกขุอุปสัมปทา" คือเป็นผู้ที่ได้รับการอุปสมบท 
โดยตรงจาก พระพุทธเจ้าทั้งสิ้น 
๓. พระภิกษุสงฆ์ทุกองค์ที่ได้มาประชุมในครั้งนี้ ล้วนแต่เป็นผุ้ได้บรรลุพระอรหันต์แล้ว 
ทุก ๆองค์ 
๔. เป็นวันที่พระจันทร์เต็มดวงกำลังเสวยมาฆฤกษ